วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

—การบำรุงรักษาระบบประสาท—

วันนี้เค้ามีเนื้อหาสาระความรู้ดีๆๆๆๆๆๆๆ มากมายยยยยยย มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันด้วยแหละ เนื่องจากช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ใกล้สอบ มิดเทอม กันใช่ป๊ะ เค้าก็เลยเอาสาระควมรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบประสาทมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันโน๊ะ

ป.ล. งานชิ้นนี้ พิมพ์เองอะไรเอง สรุปมาจากหนังสือเอง เพราะฉะนั้น เครดิต มาจากหนังสือสุขศึกษาและพละศึกษา ม.6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

แนวทางการบำรุงรักษาระบบประสาท มีดังนี้…………..

1. ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ เพราะหากสมองส่วนซีรีบรัมได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้ความจำเสื่อม หรือไม่สามารถจำสิ่งที่พบเห็นใหม่ ๆ ได้ และหากบริเวณที่ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจทำให้ส่วนนั้นเป็นอัมพาตได้




2. ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง โดยใช้วิธีต่าง ๆ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบในเด็กตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด หรือรีบให้แพทย์ตรวจสอบเมื่อเกิดความผิดปกติที่เกี่ยวกับสมอง

3. หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอลล์มาก ๆ อาจทำให้เกิดเป็นโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) ได้

4. พยายามผ่อนคลายความเครียด หากปล่อยความเครียดสะสมเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจ จึงควรหาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ทำตัวให้ร่าเริงแจ่มใส พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับ เพราะเป็น
การพักผ่อนสมองและร่างกายที่ดี โดยขณะที่เรานอนหลับ ประสาททุกส่วนที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจก็จะทำงานน้อยลง




5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่ให้วิตามินบี 1 สูง ได้แก่ อาหารพวกข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ถั่วลิสง เครื่องในสัตว์ เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น เพราะวิตามินบี 1 จะช่วยให้ประสาทแขน ขา และศีรษะทำงานปกติ ช่วยป้องกันอาการเหนื่อยง่าย

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

"คำนำหน้านาม"

คอลัมน์ มุมบริการ



"คำนำหน้านาม" คือ คำที่ใส่เพิ่มไปหน้าชื่อของบุคคลเพื่อบ่งบอกถึงสถานภาพ ยศ ตำแหน่ง หรือบรรดาศักดิ์ เช่น เด็กชาย เด็กหญิง นาย นาง นางสาว เป็นต้น ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดคำนำหน้านามต่างๆ ไว้ดังนี้

กรณีบุคคลที่มีอายุไม่ครบ 15 ปี บริบูรณ์ ถ้าเป็นเพศชายให้ใช้ "เด็กชาย" ถ้าเป็นเพศหญิงให้ใช้ "เด็กหญิง"

กรณีเมื่อชายหรือหญิงที่ไม่มีบรรดาศักดิ์มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ สำหรับชาย ให้ใช้ "นาย" สำหรับหญิงให้ใช้ "นางสาว" กรณีที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส และเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว พ.ร.บ.คำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 กำหนดให้ฝ่ายหญิงเลือกได้ตามสมัครใจว่าประสงค์จะใช้คำนำหน้านามว่า "นาง" หรือ "นางสาว" และกรณีที่การสมรสสิ้นสุดลง ฝ่ายหญิงสามารถใช้คำนำหน้านามว่า "นาง" หรือ "นางสาว" ได้ตามความสมัครใจเช่นเดียวกัน

กรณีหญิงมีบรรดาศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง) แม้เมื่อมีสามีแล้วก็ยังคงใช้บรรดาศักดิ์นำหน้านามของตนได้

กรณีผู้ประกอบอาชีพรับราชการทหาร ตำรวจ อาสารักษาดินแดน สามารถใช้ชั้นยศดังกล่าวเป็นคำนำหน้านามก็ได้ แต่ในการปฏิบัติราชการหรือทำงานในส่วนราชการพลเรือน องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ฝ่ายพลเรือน ผู้มียศทหารจะใช้ยศประกอบชื่อเท่าที่จำเป็นหรือจะไม่ใช้ยศประกอบชื่อก็ได้

กรณีการใช้คำนำหน้านามของพระภิกษุ สามเณร พระภิกษุที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ให้ระบุสมณศักดิ์ใหม่ที่ได้รับแล้ววงเล็บชื่อตัว ชื่อสกุลต่อท้าย สำหรับพระภิกษุที่ไม่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ให้ใช้คำว่า "พระ" นำหน้าแล้วตามด้วยชื่อตัว ชื่อสกุลต่อท้าย

กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ มีสิทธิใช้ตำแหน่งทางวิชาการที่ได้รับเป็นคำนำหน้านามได้ เป็นการลงชื่อหนังสือ เอกสาร งานสารบรรณ หรือการเรียกขานใดๆ เสมือนยศหรือคำนำหน้านามอย่างอื่น เช่น ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ เป็นต้น ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงการแก้ไขคำนำหน้านามในทะเบียนบ้าน เพราะเป็นเพียงคำที่แสดงให้ทราบถึงการประกอบอาชีพและระดับการดำรงตำแหน่งหน้าที่ของบุคคล เช่นเดียวกับคำว่า นายแพทย์ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ จึงไม่อาจใช้เป็นคำนำหน้านามในทะเบียนบ้านได้